เกี่ยวกับกรรมการจังหวัด

พระขาชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540


หมวด 4

คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด

          มาตรา 23   จังหวัดใดมีราษฎรนับถือศาสนาอิสลาม และมีมัสยิดตามมาตรา 13  ไม่น้อยกว่าสามมัสยิด ให้คณะกรรการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยประกาศให้จังหวัดนั้นมีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดคณะหนึ่งประกอบด้วยกรรมการมีจำนวนไม่น้อยกว่าเก้าคนแต่ไม่เกินสามสิบคน

          การคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำจังหวัด  ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการให้อิหม่ามประจำมัสยิดในจังหวัดนั้นเป็นผู้คัดเลือก ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

          ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการด้วยกันเป็นประธานกรรมการ  รองประธานกรรมการ  เลขานุการและตำแหน่งอื่นตามความจำเป็น

          ให้กระทรวงมหาดไทยประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นประธานกรรมการ  รองประธานกรรมการ  เลขานุการ และกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในราชกิจจานุเบกษา

 

          มาตรา 24   กรรมการอิสลามประจำจังหวัดต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(1)   มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 17

(2)   เป็นสัปปุรุษประจำมัสยิดในจังหวัดนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนวันคัดเลือก

(3)   มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนวันคัดเลือก

มาตรา 25   กรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีวาระการดำรงตำแหน่งหกปี เมื่อตำแหน่งกรรมการอิสลาม

ประจำจังหวัดว่างลงให้มีการคัดเลือกกรรมการแทนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่าง  ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงเว้นแต่ตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนถึงกำหนดตามวาระไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน  และยังมีกรรมการเหลืออยู่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการที่ได้รับการคัดเลือก จะไม่ให้มีการคัดเลือกกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างก็ได้ กรรมการที่ได้รับการคัดเลือกแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน

            มาตรา 26   ในจังหวัดที่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด  ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(1)   ให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับศาสนาอิสลามต่อผู้ว่าราชการจังหวัด

(2)   กำกับดูแลและตรวจตราการปฏิบัติงานของคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดในจังหวัด และจังหวัด

อื่นตามที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมอบหมาย

(3)   ประนีประนอมหรือชี้ขาดคำร้องทุกข์ของสัปปุรุษประจำมัสยิดซึ่งเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจาก

คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด

(4)   กำกับดูแลการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำมัสยิดให้เป็นไปโดยเรียบร้อย

(5)   พิจารณาแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด

(6)   สอบสวนพิจารณาให้กรรมการอิสลามประจำมัสยิดพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 40 (4)

(7)   สั่งให้กรรมการอิสลามประจำมัสยิดพักหน้าที่ระหว่างถูกสอบสวน

(8)   พิจารณาเกี่ยวกับการจัดตั้ง  การย้าย  การรวม  และการเลิกมัสยิด

(9)   แต่งตั้งผู้รักษาการแทนในตำแหน่ง  อิหม่าม  คอเต็บ  และบิหลั่น  เมื่อตำแหน่งดังกล่าวว่างลง

(10)  ออกหนังสือรับรองการสมรสและการหย่าตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม

(11)  ประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวและมรดกตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม เมื่อได้รับ

การร้องขอ

(12)  จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน เอกสารและบัญชีรายรับ รายจ่าย ของสำนักงานคณะกรรมการอิสลาม

ประจำจังหวัดให้ถูกต้องครบถ้วนเป็นปัจจุบัน และรายงานผลการดำเนินงาน ฐานะการเงินและทรัพย์สินให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยทราบปีละหนึ่งครั้ง ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี

(13)  ออกประกาศและให้คำรับรองเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลามในจังหวัด

มาตรา 27   นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 25  กรรมการอิสลามประจำจังหวัดพ้นจาก

ตำแหน่งเมื่อ

(1)   ตาย

(2)   ลาออก

(3)   คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีมติให้พ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติ หรือมี

ลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 24

ให้กระทรวงมหาดไทยประกาศรายชื่อกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่พ้นจากตำแหน่งในราชกิจจา

นุเบกษา

มาตรา 28   การประชุมคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ให้นำมาตรา 21  มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 29   ให้มีสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีหน้าที่เดี่ยวกับ

กิจการของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด โดยมีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเป็นผู้แทนของสำนักงานในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดอาจมีมติมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนทำการแทนก็ได้ และให้เลขานุการคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเป็นผู้รับผิดของในกิจการของสำนักงาน


**คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดชลบุรีมีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี โดยชุดปัจจุบัน ได้รับการคัดเลือกตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560